พระพุทธฉาย ( เงาพระพุทธเจ้า ) วัดพระพุทธฉาย อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี

พระพุทธฉาย ( เงาพระพุทธเจ้า ) วัดพระพุทธฉาย อำเภอเมือง  จังหวัดสระบุรี

พระพุทธฉาย ( เงาพระพุทธเจ้า ) “ ในชีวิตนี้ควรแวะไปกราบสักการะบูชา เพื่อความเป็นมงคลแห่งชีวิต ”

พระพุทธฉาย ( เงาพระพุทธเจ้า ) คือ เงาเลือนรางที่เป็นรอยประทับ อยู่ที่หน้าผาเชิงเขา บริเวณวัดพระพุทธฉาย มีลักษณะคล้ายพระพุทธรูปยืน สันนิษฐานพบในสมัยพระเจ้าทรงธรรมแห่งกรุงศรีอยุธยาโปรดให้สร้างวัดพระพุทธฉายราวพ.ศ .2163

ตำนานพระพุทธฉาย

พระพุทธเจ้าเสด็จมาที่เขาฆาฏกะ ( เขาพระพุทธฉาย ) เพื่อโปรดนายพรานฆาฏกะ จนสำเร็จพระอรหันต์ ฝันพระพุทธเจ้าเสด็จกลับพระฆาฏกะได้ทูลขอให้ประทานสิ่งอันเป็นอนุสรณ์เพื่อสักการะกราบไหว้ พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงปาฏิหาริย์ให้เงาของพระองค์ติดอยู่ในเนื้อหินที่เงื้อมเขาพระพุทธฉายบรรพต

การค้นพบในการสันนิษฐานว่าพระพุทธฉาย ( เงาพระพุทธเจ้า ) ค้นพบในสมัยอยุธยาเป็นราชธานีหลังจากพบรอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธฉายในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม ( พ.ศ. 2163-2171 ) สมัยที่ค้นพบพระพุทธฉายได้สร้างพระมณฑลครอบ พระบรมฉายาลักษณ์ สถานที่เคารพสักการะพระพุทธศาสนิกชนตลอดจนพระมหากษัตริย์ในรัชกาลต่อมาและเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง

พระพุทธฉาย ( เงาพระพุทธเจ้า ) วัดพระพุทธฉาย อำเภอเมือง  จังหวัดสระบุรี

จากพงศาวดารตำนานที่ปรากฏชัดว่าสมเด็จพระเจ้าเสือ พร้อมด้วยเชื้อพระวงศ์และข้าราชการ บริพาร ได้เสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระพุทธฉาย แล้วเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาท จนถึงกษัตริย์องค์สุดท้ายสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ พระองค์ได้เสด็จไปนมัสการพระพุทธฉายก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา 3 ปี ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ หน้า 484 ได้กล่าวไว้ในบท สมโภชพระพุทธฉาย เกี่ยวกับพระพุทธฉายว่าในสมัยพระบาทสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ว่า “ ครั้นเดือนอ้ายเสด็จขึ้นไป นมัสการพระพุทธฉาย แรมอยู่ 3 วัน ฯลฯ แล้วเสด็จกลับมาสมโภชพระพุทธบาท 7 วัน ”

จากประวัติและพระราชพงศาวดารแสดงให้เห็นว่าพระพุทธฉายได้เจริญมาสมัยหนึ่ง แล้วปรากฏจากหลักฐานและวัตถุโบราณนานับประการ ที่ยังปรากฏเป็นหลักฐานจนถึงปัจจุบันนี้ เช่น มณฑปที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองบนยอดเขาลม วัดพระพุทธฉาย เนื่องจากภัยทางสงครามบ้านเมืองไม่สงบสุขมีการรบทัพจับศึก เกิดการระส่ำระสายเปลี่ยนแปลงแผ่นดิน บ้านเมืองเดือดร้อนดังปรากฏในประวัติศาสตร์ครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา จนกว่าจะตั้งกรุงธนบุรี และกรุงเทพ ฯ ขึ้นเป็นเมืองหลวง

พระพุทธฉายก็ได้ถูกทอดทิ้งมาเป็นเวลาช้านาน จนชำรุดทรุดโทรมลงมณฑปเดิม ซึ่งสร้างไว้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และศาสนสถานถาวรวัตถุต่างๆ ได้ขาดการดูแลเอาใจใส่ และภัยธรรมชาติ ได้ทำลายเสียหายเป็นอย่างมาก กาลเวลาได้ผ่านมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการบูรณะฟื้นฟูพระพุทธศาสนา

พระพุทธฉาย ( เงาพระพุทธเจ้า ) วัดพระพุทธฉาย อำเภอเมือง  จังหวัดสระบุรี

จากศิลาจารึกที่นำมาโดยสังเขปนี้ จะเห็นได้ว่าพระพุทธฉาย ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ มาในระยะเวลา 1 การเวลาล่วงเลยมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระพันวษาอัยยิกาเจ้า ได้เสด็จมาฟื้นฟูบูรณะพระพุทธฉาย ทรงสร้างมณฑปขึ้นใหม่เป็นมณฑป 2 ยอดแทนมณฑปเดิมและทรงบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุอื่นๆเช่นศาลาพระอุโบสถบนยอดเขาพระพุทธฉายปฏิสังขรณ์มณฑป ครอบรอยพระบาทจำลองยอดเดี่ยว บนยอดภูเขาด้านตะวันออกบริเวณลานพระโมคคันลานะวัดพระพุทธฉายซึ่งยังเหลือเป็นอนุสรณ์อยู่ตราบเท่าทุกวันนี้

ชาวบ้านได้เล่าให้ฟังว่าบ่อยครั้งที่พระพุทธฉาย ( เงาพระพุทธเจ้า ) ได้แสดงอภินิหารให้คนทั่วไปได้ประจักษ์ฟัง “ ครั้งหนึ่งมีนักท่องเที่ยวได้พูดจาทำนองลบหลู่ว่า พระพุทธฉาย ( เงาพระพุทธเจ้า ) เป็นเรื่องที่สมมุติขึ้นมา จริงๆแล้วไม่ได้เป็นเงาของพระพุทธเจ้า ทันทีที่พูดจบปรากฏว่า ปากของเขามันเกิดเบี้ยวเดี๋ยวนั้นเลยพวกเพื่อน ๆ ต่างตกตะลึง เจ้าหน้าที่วัดจึงได้แนะนำให้รีบไปขอขมาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ได้พูดจาล่วงเกินเมื่อได้ขอขมาเป็นที่เรียบร้อยอาการผิดปกติ ( ปากเบี้ยว ) ก็หายไป ”

การเดินทาง ทางเข้าวัดพระพุทธฉาย เป็นถนนแยกจากถนนพหลโยธิน ตรงกิโลเมตรที่ 102 ( หมู่บ้านโคกหินแร่ ตำบลหนองยาว ) เข้าไป 5 กิโลเมตร ( ระยะทางตามถนนจากตัวเมืองสระบุรี ลงทางใต้ 6 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไป 5 กิโลเมตร ) ก็จะถึงที่ประดิษฐานพระพุทธฉาย


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
กลับป่าช้ากันเถอะ
ปู่โสม เฝ้าสวน
นัดเล่า…ผี
ตัวตาย ตัวแทน
ซากสยอง กลางดงมรณะ
เรื่องผี ขยี้ขวัญ